Last updated: 13 มี.ค. 2567 | 585 จำนวนผู้เข้าชม |
ชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้
(พื้นที่ 5 จังหวัด ประมาณ 2 ล้านไร่)
ส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวหอมมะลิมากกว่าข้าวเหนียว เพราะ
1.ข้าวเหนียวที่ปลูกในดินร่วนปนทราย
จะมีแป้งเยอะ ทำให้อร่อยเวลากินตอนนึ่งสุกใหม่ก็จริง
แต่พอข้าวเย็นจะแข็ง พอนำมาอุ่นจะเหนียว เละ
2.การปลูกข้าวหอมมะลิ มี 2 พันธุ์คือ
-มะลิใหญ่ กข105 (เม็ดอวบใหญ่)
-มะลิเล็ก กข 15 (เม็ดสั้น)
เป็นที่ต้องการของตลาด(โรงสี)
เพราะเป็นข้าวเกรดส่งออก
โดยมีการรับรอง GI-Geographical Indicator
หรือ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ว่า พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
เคยเป็นทะเลมาก่อนเมื่อประมาณ 2 หมื่นปีที่ผ่านมา
ทำให้สภาพดิน มีแร่ธาตุที่เหมาะสมสำหรับ
การปลูกข้าวหอมมะลิ ทำให้ได้กลิ่นหอม
รสสัมผัสนุ่ม มากกว่าพื้นที่ปลูกอื่น ๆ
เช่น หอมมะลิ 105 ปลูกในทุ่งกุลา จะได้รสชาติแบบนึง
พอนำไปปลูกที่ปทุมธานี(ดินตะกอนปากแม่น้ำ)
กลับได้เนื้อ และรสสัมผัสอีกแบบหนึ่ง เป็นต้น
บางพื้นที่ มีการขอรับรอง GI ของสหภาพยุโรป
เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าในการส่งออกข้าวทุ่งกุลาฯ
ได้อีกทางหนึ่ง (นิยมทำในวิสาหกิจชุมชน
โรงสีข้าวขนาดใหญ่
ที่มีความพร้อมและมีตลาดรองรับ)
.
ข้อ 3. อันนี้สำคัญสุดคือ
ชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ ปลูกข้าวหอมมะลิเยอะ
เพราะได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมจากภาครัฐ
ผ่านเกษตร และ พาณิชย์
ไปจนถึงการเยียวยา กรณีน้ำท่วมฝนแล้ง
งบประมาณรัฐที่สนับสนุนให้
บังคับว่า เกษตรกรจะต้อง
ขึ้นทะเบียนพันธุ์ข้าวที่จะปลูก
ว่าเป็นหอมมะลิ และ ข้าวเหนียวเท่านั้น
ทำให้ชาวนาทุ่งกุลา(รวมถึงที่อื่น)
ต้องปลูกข้าวตามที่กลไกรัฐกำหนด
(เพื่อป้อนโรงสี เทรดเดอร์ ไปเอาแชมป์โลก)
เมื่อปลูกข้าวหอมมะลิไว้ขายแล้ว
ก็ซื้อข้าวราคาที่ถูกกว่ามาไว้กิน
.
ทั้งนี้กลไกรัฐ มีทั้ง
-เกษตร
-พาณิชย์
-ธกส.(กลจักรสำคัญ)
ฯลฯ
ทำให้ชาวนาส่วนใหญ่
ไปไหนไม่ได้ คิดนอกกรอบก็ไม่ได้
เพราะกลไกลเหล่านี้ ผูกพันเอาไว้
.
อยากสนับสนุนชาวนาขายข้าวเอง
สามารถสั่งซื้อได้ที่
www.e-ricethaifarmers.com
อ่านบทความต่อได้ที่
https://bit.ly/46GWpgK
(ทำไมจึงปลูกข้าวหอมมะลิกันเยอะมาก)
สนับสนุนการพัฒนา
โครงการชาวนาขายข้าวเอง
ด้วยการซื้อข้าวล่วงหน้าแบบมีปันผลรายปี
ได้ที่ https://bit.ly/3ryhIkU
30 ต.ค. 2567
28 ม.ค. 2564
28 ธ.ค. 2566