มอดในข้าวนั้นมาจากไหน ใครรู้บ้าง มีอันตรายกับเราหรือไม่?

Last updated: 10 ต.ค. 2567  |  23 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มอดในข้าวนั้นมาจากไหน ใครรู้บ้าง มีอันตรายกับเราหรือไม่?

"มอดในข้าวมาจากไหน?
เป็นอันตรายหรือไม่?
จะมีวิธีการป้องกันได้อย่างไร?


.


วันนี้(พยายาม)รวบรวมข้อมูล
จากแหล่งวิชาการที่(น่า)เชื่อถือได้
ประสบการณ์การทำนาเอง และ
ประสบการณ์การทำงานร่วมกับ
วิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์หลายแห่ง
มาเล่าสู่กันฟัง


.


มอดข้าว มีชื่อฝรั่งว่า "Rice Weevil"
หรือ ชื่อไทยทางการคือ "มอดข้าวสาร"
(ลักษณะตัวคล้าย ๆ ด้วงงวงช้าง
ตัวที่เจาะมันญี่ปุ่น แล้ววางไข่เหม็น ๆ)
ถือเป็นศัตรูของข้าวระยะเก็บเกี่ยว
ไปจนถึงแปรรูปโดยตรง


มอดจะวางไข่ที่บริเวณเปลือกข้าว
หากลองหาดูภาพขยายเปลือกข้าว
จะเห็นว่า เป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับไข่มอด
เพราะมีขนาดเล็ก ระดับไมครอนกันเลย


แน่นอนว่า เกี่ยวข้าวเสร็จ
ข้าวยังมีความชื้นอยู่ แม้จะตากหลายแดด
เมื่อนำมาเก็บในยุ้งฉาง ที่อุณหภูมิที่เหมาะสม
จะทำให้มอดฟักตัว แม้จะเจาะเปลือกข้าวไม่เข้า
มอดก็ยังขยายพันธุ์ได้อีกอยู่ดี


.


มอดเป็นแมลงตัวเล็ก ๆ
แม้จะไม่มีอันตรายต่อคน
แต่ยามใดที่มันได้เจาะข้าวสาร
กัดกินเนื้อข้าว รวมทั้งสาร 2ap
หรือสารหอมระเหยในข้าว
จะทำให้เนื้อข้าวแข็ง
ไม่มีกลิ่นหอมเหลือ
ทำให้ไม่น่ากินในที่สุด


.


การป้องกันมอดในข้าวควรทำอย่างไร?
ข้อนี้ผมขอแยกเป็น 2 ส่วน คือ


1.ข้าวทั่วไป(Conventional) หรือข้าวระบบโรงสี
ที่รับซื้อจากชาวนา เอามาเทรวมกัน
เพื่อรอการแปรรูป รอการปรับปรุงคุณภาพ
(โรงสีอุตสาหกรรม สามารถนำข้าวคละคุณภาพ
มาปรับปรุงให้มีคุณภาพเดียวกันได้นะ)
ข้าวในระบบนี้ จะมีมอดเยอะมาก ๆๆ
(แอดมินเคยเข้าไปดูส่วนที่ลึกที่สุดของ
โรงสีอุตสาหกรรมระดับอำเภอ(ห้ามเอามือถือเข้าไป)
จากความเมตตาของพี่ ๆ เจ้าของโรงสีท่านหนึ่ง)
โอ้ แม่เจ้า มอดเยอะมาก ๆ


ในระบบนี้ เขาจะรมยา"กันไข่มอดฟักตัว"
เน้นย้ำว่า กันไข่ฟักตัว ไม่สามารถ
ใช้สามารถใช้สารเคมีที่กำจัดได้
เพราะจะเป็นอันตรายกับผู้บริโภค
โดยจะรมยา ทุก ๆ 3-6 เดือน
แล้วแต่ขนาดของโกดัง และปริมาณข้าว


รวมถึง เมื่อสีเสร็จ จะบรรจุถุงส่งลูกค้า
ลูกค้าของโรงสี มีตั้งแต่คนทั่วไป
จนถึงลูกค้าแบรนด์ที่วางจำหน่ายในห้าง


เคยสังเกตุข้าวห้างกันไหม
วางอยู่เป็นปี ไม่มีมอดขึ้นสักตัว


โดยสารเคมีที่ใช้รมมีสองตัวคือ
เมธิลโบรไมด์ - https://bit.ly/3vUKlc0
ฟอสฟีน (อันนี้แอดมินไม่มีข้อมูล)


ส่วนจะเป็นอันตรายต่อคน
มากน้อยเพียงใด ก็หาคำตอบต่อกันเอง


.


2.ข้าวอินทรีย์(Organic rice) หรือ
ข้าวปลอดสาร(non chemical rice)


สองอันนี้ มีความคล้าย แต่ไม่เหมือนกัน 100%
เรื่องนี้ ลงไว้ในทั้งเพจ และเว็บไซต์ประจำ
โดยมีจุดที่เหมือนกันคือ
"มีการตรวจรับรองโดยบุคคลที่สาม"


การป้องกันมอดที่ใช้ในข้าวประเภทนี้
จะใช้ คาร์บอนไดออกซ์(CO2) หรือ
การทำให้บรรจุภัณฑ์ของข้าว อยู่ในภาวะสุญญากาศ
ไม่มีออกซิเจนเหลือพอให้มอดใช้ในการฟักตัว


สำหรับการรมคาร์บอนฯ
ส่วนมากจะอยู่ได้ราว ๆ 1-2 เดือน
ต่อการรม 1 ครั้ง มักใช้ในการส่งข้าวไปต่างประเทศ
ที่ต้องขนส่งทางเรือ ใช้เวลานาน
การทำให้บรรจุภัณฑ์อยู่ในภาวะไม่มีอากาศ
เรานิยมทำกันมากที่สุด คือ การแพคแบบสุญญากาศ
แบบที่เราส่งให้ลูกค้าทุกท่านนั่นเอง


เมื่อเปิดปากถุง มีอากาศเข้า
กลไก วงจรชีวิตของมอด
จะเริ่มทำงานทันที ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน
มอดก็จะออกมาไต่ยั๊วะเยี๊ยะในที่เก็บข้าว


ข้าวในระบบนี้จะไม่มีอันตราย
เพราะเป็นการงดใช้สารเคมี
ตั้งแต่กระบวนการปลูกแล้ว
ทำให้คนกินมั่นใจได้ว่า "ปลอดภัย"

แต่ถ้าหากเก็บรักษาไม่ดี

อาจทำให้ข้าวเสียรสชาติได้


.


โอกาสหน้า จะมาเล่าถึง
นวัตกรรม และความพยายามสรรหา
เทคโนโลยีมากำจัดมอด
ทั้งในระดับชุมชน และ ระดับอุตสาหกรรมครับ


.


หมายเหตุ :
ข้อมูลเหล่านี้ มาจากการทำนาเอง
และพูดคุยแลกเปลี่ยนกับพี่ ๆ น้อง ๆ
รวมไปถึงนักวิชาการด้านการเกษตร
ภาษาบ้าน ๆ ไม่แนะนำให้เอาไปอ้างอิงเด้อ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้