Last updated: 29 ก.ย. 2566 | 2302 จำนวนผู้เข้าชม |
ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ของเกษตรกรหรือ
ชาวนารุ่นใหม่หลายท่าน
.
ที่ออกมาทำเกษตร ทำนาเอง
โดยการงดสารเคมี งดสารพิษ
แต่ต้องนำไปขายในราคาเดียวกันกับ
ผลผลิตที่ปลูกในระบบเคมี(แบบทั่วไป)
.
พอเจอกลไก การรับซื้อของตลาด
ถึงกับไปไม่เป็นโวยวายว่า
ตัวเองทำ"เกษตรอินทรีย์"(ได้ยินกันเกร่อ)
ดีแบบนั้น ดีแบบนี้ แต่จับต้องไม่ได้
.
โอเค ถ้าคุณปลูกเพื่อกินเอง
แบ่งขายในกลุ่ม สังคมเพื่อน ๆ
การงดสารเคมี งดสารอันตราย
ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้
เพราะรู้ว่าใครปลูก ปลูกอย่างไร
.
.
แต่ถ้าทำเชิงพาณิชย์ หรือ
ทำเพื่อนำไปขายในปริมาณที่มาก
หรือมีคนกินที่กว้างขึ้น เช่น
ขายส่งให้ ห้างร้าน ที่มีลูกค้ารองรับ
.
คำถามว่า"อินทรีย์"ของคุณ
จะสามารถการันตีได้เพียงใด??
.
.
.
คำตอบคือ การันตีไม่ได้เลย
แม้ว่าคุณจะใส่ใจ พิถีพิถันในขั้นตอน
การปลูกไปจนถึง เก็บเกี่ยวนำมาขาย
.
คนที่จะการันตี หรือรับรองให้คุณได้
ต้องเป็น"คนกลาง" หรือบุคคลที่สาม
ที่เป็นที่ยอมรับ ทั้งลูกค้า คนกิน คนปลูก
หรือแม้กระทั่งคนขาย
ที่เรียกกันว่า"ผู้รับรอง"
.
.
อ่านถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งงงนะครับ
การใช้คำว่า อินทรีย์ หรือ ปลอดสารนั้น
สำนักมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ(มกทช.)
ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้(ตามภาพ)
ที่ผมขอยืมมาจากกูเกิ้ลให้ดู
.
.
การทำเกษตรแบบปลอดสารพิษและ
การทำเกษตรแบบอินทรีย์
แม้ไม่เป็นที่แพร่หลาย
แต่เป็นเทรนด์(trend)อาหารระดับโลก
ให้การยอมรับเรื่องการผลิตอาหารที่ปลอดภัย
อาจจะเรียกว่าเป็นตลาดเฉพาะก็ได้(Niche Market)
.
ห้างในไทยไล่ตั้งแต่บิ๊กซี โลตัส แมคโคร
ก็มีเงื่อนไขของการนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
ที่จะวางจำหน่ายว่า ต้องมีมาตรฐานรับรอง
ตั้งแต่ระบบ GAP-Good Agricultural Practicing
ขึ้นไปตามลำดับ(GAP,Organic Thailand,iFoams)
นี่คือมาตรฐานที่ลูกค้าในไทยให้การยอมรับ
ในระดับหนึ่งเท่านั้น
.
.
ลองดูภาพประกอบครับ
ว่า การทำเกษตรอินทรีย์/ปลอดสาร
ต้องทำอะไร ใส่อะไรได้ไม่ได้บ้าง
.
.
.
คนปลูก เวลาคนกินถาม
ก็จะได้บอกเขาได้ตรงคำตอบ
ไม่ใช่พอมีคนถาม
ก็บอกแค่คำว่าอินทรีย์กับพอเพียงเท่านั้น
.
.
เกษตรกร ชาวนารุ่นใหม่
อย่างน้อย ต้องมีข้อมูลที่อ้างอ้งได้
นอกจากการลงมือทำ
.
.
อ้อ แล้วอยากรู้ไหมครับ
ว่าตลาดผลผลิตอินทรีย์ระดับโลก
เขาให้การยอมรับการตรวจรับรอง
มาตรฐานระดับใด???
30 ต.ค. 2567
28 ธ.ค. 2566
28 ม.ค. 2564