Last updated: 29 ก.ย. 2566 | 477 จำนวนผู้เข้าชม |
หัวมันเทศมีคุณประโยชน์มาก
เพราะใช้เป็นอาหารของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
เราสามารถนำมันเทศมาใช้ปรุงอาหารได้ทั้งคาวและหวาน
โดยอาหารหวาน ได้แก่ มันเทศแกงบวด
มันเทศต้มน้ำตาล มันเทศเชื่อม มันเทศกวน
มันเทศฉาบ มันเทศทอด มันเทศเผา มันเทศรังนก หรือนำมานึ่งกิน เป็นต้น
ส่วนอาหารคาวก็ได้แก่ แกงเลียง แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น แกงคั่ว เป็นต้น
ส่วนชาวลั้วะและชาวไทใหญ่จะใช้หัวนำมานึ่งกินกับน้ำพริก
หัวมันเทศเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตชั้นดีที่ให้พลังงาน
โดยไม่ก่อพิษต่อร่างกายแบบอาหารที่แปรรูปจากแป้งและน้ำตาลแบบอื่น ๆ
จึงสามารถนำมาใช้รับประทานแทนข้าวได้
โดยคุณค่าทางโภชนาการของหัวมันเทศต่อ 100 กรัม
ประกอบไปด้วย พลังงาน 100 แคลอรี,
แป้ง 25 กรัม,
โปรตีน 1.7 กรัม,
ไขมัน 0.3 กรัม,
น้ำ 70 กรัม,
เถ้า 1 กรัม,
แคโรทีน (เฉพาะในเนื้อหัวสีเหลือง) 2,000-5,000 หน่วย,
วิตามินบี 1 0.1 มิลลิกรัม,
วิตามินบี 2 0.05 มิลลิกรัม,
วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม,
วิตามินซี 25 มิลลิกรัม เป็นต้น[
ส่วนของยอดอ่อนมันเทศก็สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักได้เช่นกัน
โดยนำมาทำแกง เช่น แกงส้ม หรือนำลวกจิ้มกับน้ำพริก
ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของยอดอ่อนมันเทศต่อ 100 กรัม
ประกอบไปด้วย พลังงาน 48 แคลอรี,
แป้ง 9.2 กรัม,
โปรตีน 3.6 กรัม,
ไขมัน 0.7 กรัม,
น้ำ 85 กรัม, เถ้า 1.5 กรัม,
แคโรทีน 6,000 หน่วย,
วิตามินบี 1 0.12 มิลลิกรัม,
วิตามินบี 2 0.24 มิลลิกรัม,
วิตามินบี 3 0.09 มิลลิกรัม,
วิตามินซี 27 มิลลิกรัม เป็นต้น
ชาวปะหล่องจะใช้ลำต้นใต้ดินนำมานึ่งหรือต้มรับประทานหรือนำไปแกง
นอกจากจะใช้เป็นอาหารของมนุษย์แล้ว
เรายังใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้อีกด้วย
เช่น ใช้เป็นอาหารวัว ควาย หมู กระต่าย เป็ด ไก่ ปลา และอาหารแพะ เป็นต้น
โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ก็ใช้ได้ทั้งหัว เถา และใบ
บางแห่งมีการปลูกมันเทศเพื่อใช้เลี้ยงหมูโดยเฉพาะ คือ
เมื่อมันเทศทอดยอดและลงหัวดีแล้วก็ปล่อยให้สุกรลงไปกินยอด กินใบ และขุดหัวกินเอง
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/
13 ม.ค. 2564
13 ม.ค. 2564