Last updated: 15 มี.ค. 2567 | 997 จำนวนผู้เข้าชม |
ก่อนอื่น ออกตัวก่อนว่า
ไม่ได้มีเจตนาในการดิสเครดิตใคร(ดูร้อนตัวไว้ก่อน)
เพียงแต่อยากนำข้อมูลการทำงานภาคชาวนา
ที่ปลูกข้าว สีข้าวขายเองมา 10 ปีแล้ว มาแบ่งปัน
โดยขอทำเป็นตอน ๆ ทั้งหมด 3 ตอน
เนื่องจากทำคอนเท้นต์กราฟฟิคไม่เก่ง
เพราะไม่มีโปรดัคชั่นคลิบวีดีโอ
มีแต่ภาพการทำงานที่เก็บเอาไว้เท่านั้น
ถ้าจะคำนวณ ต้นทุนข้าวเปลือกหอมมะลิ
ปริมาณ 1 กก จะสีได้ข้าวสารกี่ กก.นั้น
อาจจะมองเห็นภาพไม่ชัด
จึงขอขยายสเกล เพื่อให้มองเห็น
ด้วยการคำนวณจาก ข้าวเปลือก 1000 กก หรือ 1 ตัน
เพราะเวลาเราเอาข้าวไปสีที่โรงสีชุมชน
ก็จะนำไปทีละ 50 กก-100 กก เป็นอย่างน้อย
โรงสีชุมชน เขาก็รับสีให้นะ (ถ้าโรงสีใหญ่ ๆเขาจะไม่รับ)
เป็นเรื่องของการบริหารจัดการการสีข้าว
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 1000 กก. หรือ 1 ตัน
เมื่อนำมาสีแล้วจะแยกออกมาได้(คร่าว ๆ) คือ
1.ข้าวเม็ดเต็ม
2.ข้าวเม็ดหัก แยกเป็น หักเล็ก หักกลาง ปลายข้าว
3.รำ แยกเป็นรำอ่อน รำแก่
4.สิ่งเจือปน แกลบ
เราได้ทดลองเก็บข้อมูลการสีข้าว
ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวปลอดสาร(ชาวนาในโครงการของเรา)
ที่เริ่มงดสารเคมี งดยาฆ่าแมลง(รวมทั้งลดปุ๋ยเคมีในปีแรก)
ดังภาพที่นำมาแสดง จะเห็นว่า
เปอร์เซ็นต์ข้าวที่ได้ "ต่ำมาก"
เพราะตามเกณฑ์ที่กำหนดข้าวคุณภาพดี
ต้องมีเปอร์เซ็นต์ข้าวไม่ควรต่ำกว่า 45-50%
เป็นผลโดยตรงกับราคาที่โรงสีจะรับซื้อ
ทั้งนี้ ปัจจัยจะทำให้ข้าวดี ไม่ดีนั้น
สามารถดูได้ตั้งแต่การทำนา
-การเตรียมดิน
-การคัดเมล็ดพันธุ์
-ปุ๋ยที่ใส่ การดูแลระบบน้ำ วัชพืชต่าง ๆ
ฯลฯ
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้
ล้วนมีผลต่อคุณภาพข้าวทั้งสิ้น
สรุป แบบเล่าสู่กันฟังได้ว่า
ข้าวเปลือก 1 กก เมื่อนำมาสีเป็นข้าวเม็ดเต็ม(สวยบ้างไม่สวยบ้าง)
จะได้ประมาณ 300 กรัม หรือ 3 ขีดเท่านั้น
ถ้าคิดแบบอัพสเกล ข้าวเปลือก 1000 กก
จะได้ข้าวต้น ประมาณ 300 กิโลกรัม
ส่วนการตั้งราคาของชาวนาที่ปลูกข้าว สีข้าวขายเอง
ต้องกลับไปคำนวณต้นทุนตั้งแต่เริ่มทำนา(ก่อน)ด้วย
ตอนหน้า จะทำข้อมูลการสีข้าวของระบบโรงสี
มาให้เปรียบเทียบกันครับ
28 ม.ค. 2564
28 ธ.ค. 2566
30 ต.ค. 2567