Last updated: 29 ก.ย. 2566 | 3289 จำนวนผู้เข้าชม |
"ข้าวเม่ามูนมัง"
.
ที่ตั้งชื่อแบบนี้ เพราะมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวนา
ถ่ายทอดมาไม่รู้กี่ชั่วอายุคน มาจนถึงรุ่นเรา
.
ปัญหากลไกตลาดข้าว
คือสิ่งที่กดทับชาวนามาหลายสิบปีแล้ว
ในเรื่องกลไกราคา กลไกการตรวจเปอร์เซ็นต์ความชื้น
แล้วหักค่าต่าง ๆ ในราคารับซื้อ โดยที่ชาวนาไม่สามารถทำอะไรได้
แม้แต่เรื่องต้นทุนการผลิตข้าว ยังถูกขึงด้วย กลไกปุ๋ยเคมี สารเคมี
กลไกเครื่องจักรและแรงงานต่าง ๆ
.
การขายข้าวเองของชาวนาคือ"ทางเลือก" ที่จะไปสู่"ทางรอด"
ด้วยการพยายามปลูกข้าวในระบบอินทรีย์เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
เพิ่มมูลค่าให้ข้าว ปลอดภัย มั่นใจแก่คนกินอีกทาง
.
.
การแปรรูปข้าว คืออีกหนึ่งทางรอดของพวกเรา(ชาวนาอิสาน)
ที่ตัดสินใจ ขายข้าวเองโดยมีโจทย์ว่า ข้าวต้องมีคุณค่า
มากกว่าข้าวที่แปรรูป และขายโดยโรงสี
มิเช่นนั้น เราคงไม่สามาถหลุดพ้นจากกลไกของตลาดข้าวได้แน่นอน
.
.
ข้าวเม่า คือ ข้าวที่เกี่ยวก่อนระยะข้าวสุกประมาณ 15 วัน
ไม่ใช่แค่ท่านที่คิดคนเดียว ชาวนาทั่วไป ก็คิดเช่นกันว่า
"คงมีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่เกี่ยวข้าวก่อนข้าวจะลงเต็มเม็ด"
.
จริงครับ ข้าวเม่า คือข้าวที่เกี่ยวก่อนข้าวสุก
ทำให้"แป้ง" ยังไม่ลงในเม็ดข้าวเต็มที่
ไม่รวมน้ำนมข้าวที่สูงอยู่แล้ว
ทำให้มีคลอโรฟีลด์ สูงม๊วกกกกกก(เน้นเสียง)
.
เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการควบคุมน้ำตาล
แลดูแลสุขภาพด้านอื่น ๆ ไปพร้อมกันในทีเดียว
.
.
ข้าวที่ปลูกโดยการงดสารเคมี งดปุ๋ยเคมี
งดยาฆ่าหญ้า งดยาฆ่าแมลงทุกอย่าง 100%
.
โดยเราใช้ข้าวเหนียว"ธัญสิริน"(ชื่อพระราชทาน โดยกรมสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า)
เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ จาก ม.เกษตรศาสตร์กำแพงแสน
ร่วมกับ สวทช. แจกจ่ายพันธุ์ช้าว ผ่านมายัง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้
เพื่อช่วยพี่น้องชาวนา ที่ประสบปัญหา"โรคไหม้คอรวง" ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ทุกปี
ทำให้ข้าวเสียหาย ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้อย่างที่ควรเป็น
.
นำมาผ่านกรรมวิธี"ภูมิปัญญาชาวนาโบราณ"
ด้วยความเข้าใจใน"ธรรมชาติของข้าว"
รู้จังหวะ เวลา อายุ การเจริญเติบโตของข้าว
.
ทำให้ข้าวมีน้ำตาลต่ำมาก
หุง(นึ่ง)ด้วยเวลาที่น้อยลงกว่าเดิม
เป็นมากกว่าขนมแบบที่พวกเราเข้าใจกันมาตลอด
.
การนำเทคโนโลยี การเก็บข้อมูลงานวิจัยของคนรุ่นใหม่
รวมถึง ผลการตรวจคุณค่าทางโภชนาการ ที่สามารถอ้างอิงได้
.
จับรวมเข้ากับระบบ e-commerce ของชาวนารุ่นใหม่แบบเรา
ที่สามารถส่งถึงบ้านคนกินได้ทั่วประเทศ
.
ช่วยแก้ปัญหาข้าวราคาไม่ดีให้กับชาวนาในโครงการ
ส่งมอบคุณค่าทางอาหารให้กับคนกิน ด้วยข้าวที่มีคุณภาพสมราคา
ด้วยการทดลองกับข้าวที่เราปลูกได้หลายชนิด
ที่ให้คุณค่าทางอาหารแตกต่างกันออกไป
รวมทั้งการทดลองแปรรูป เพื่อให้สามารถเก็บรักษาข้าวไว้ได้ตลอดปี
กราบขอบพระคุณ ดร.รณชัยช่างศรี นักวิชาการ 8 ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ
ที่เป็นที่ปรึกษา และกรุณาตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ให้กับข้าวของพี่น้องชาวนาในโครงการ และ
.
กราบขอบพระคุณ ดร.สุบรรณ ทุมมา ผอ.ศูนย์วิจัยฯ มทร.อิสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ที่เอื้อเฟื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวธัญสิริน สำหรับแจกจ่ายชาวนาในโครงการของเรา
30 ต.ค. 2567
28 ธ.ค. 2566
28 ม.ค. 2564