ชีวิตหลังความตายของชาวนา

Last updated: 29 ก.ย. 2566  |  1033 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ชีวิตหลังความตายของชาวนา

วันนี้เราได้สูญเสียป้าใหญ่ พี่สาวของแม่

ในตระกูลชาวนาที่ทำนา สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน

.

ผมไม่รู้จะเรียบเรียงยังไง ที่จะสื่อให้ผู้อ่าน

ทราบถึงเรื่องภายในของเรา ที่ผมเชื่อและมั่นใจว่า

ครอบครัวชาวนาคนอื่น ๆ ก็คงมีเรื่องราวการต่อสู้ แบบนี้ หรืออย่างน้อย

คงคล้าย และใกล้เคียงกัน

.

.

ป้าเป็นพี่สาวคนโต ในบรรดาลูก 6 คน

ตายายของผม ทำนา ท่านที่ติดตามโมเดลชาวนาขายข้าวเองมานาน

คงพอนึกภาพออก เพราะผมลงบทความที่เกี่ยวข้องกับพวกท่านบ่อย ๆ

.

เรื่องของเรื่อง ที่อยากพูดถึงคือ

ตายายทำนา มีลูก 6 คน ในสมัยก่อน

ถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก

.

อาศัยที่ต้องทำนา เลี้ยงปากท้อง ลูกเมียแล้ว

ยังต้องอาศัยเงินจากการขายข้าว ขายมันสำปะหลัง

ขายอ้อย ขายแตงโม เรียกได้ว่า ปลูกอะไรขายได้ ก็ปลูกหมด

.

เพื่อส่งให้ลูก ๆ ได้เรียนหนังสือ

นี่คือ"วิสัยทัศน์" ของตายาย บรรพบุรุษชาวนา

ที่วางไว้ เมื่อ 50-60 ปี 

.

แม้กระทั่งผม มีโอกาสได้อยุ่กับท่าน

ในตอนเด็ก ท่านจะสอนเสมอว่า 

"ให้ตั้งใจเรียนหนังสือ"

"อย่ากลับมาทำนา"

"สอบให้ได้ทำงานในหน้าที่การงานสูงๆ"

.

.

เริ่มมองเห็นความเหมือนหรือยังครับ

พี่น้องชาวนา หรือครอบครัวอื่น ๆ

.

ป้า เป็นลูกคนโต ในบรรดาพี่น้อง 6 คน

ตากับยาย ให้เรียนจบแค่ ป.4 แล้วให้ออกมาทำนา

เพื่อเลี้ยงน้อง เน้นย้ำ คือ พี่คนโต เสียสละ ทำนาเลี้ยงน้อง

นี่คือวัฒนธรรมของชาวนาอิสาน(และชาวนาที่อื่นคงเป็นเหมือนกัน)

.

เพราะถ้าพี่คนโตเรียน

น้อง ๆ ก็จะไม่ได้เรียน

เห็นไหม ว่าชีวิตชาวนาเรา ไม่ได้เพิ่งมาลำบากในวันสองวัน

พวกเราลำบาก มาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่แล้วโว้ย

.

.

ป้า เสียสละ ทำนาช่วยตายาย 

เพื่อส่งเสียให้น้อง ๆ ได้เรียน

และน้อง ๆ ทุกคน ก็ไม่ทำให้ตายาย และ ป้า ผิดหวัง

ทุกคนได้เรียนสูง จบปริญญาทุกคนในรุ่นพ่อแม่ของผม

สิ่งที่ภาคภูมิใจคือ เมื่อพิธีกร อ่านตำแหน่งของแต่ละคน

ถือว่าสูงมาก ในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด สำหรับตระกูลชาวนา

.

คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ของเรา

ยังได้นำวิสัยทัศน์ของตายายมาสานต่อ

ด้วยการส่งให้รุ่นลูก คือพวกเรา ได้เรียน มีโอกาสเข้าถึการศึกษา

.

ได้เข้าโรงเรียนดีดี เช่น พี่สาวท่านนึง จบจากจุฬาฯ

ผมเอง จบ ร.ร.เตรียมทหาร ฯลฯ

นี่คือสถาบันระดับประเทศทั้งนั้นนะ

จากลูก หลานชาวนาบ้านนอก

ที่มีไฟ และความใฝ่ฝัน ที่กล้าพาความเป็นชาวนา

ไปอวดสายตาชาวประชาให้ได้

.

.

ตอนเป็นเด็ก แม่จะเล่าให้ฟังเสมอว่า

ที่พวกแม่ได้เรียน ได้มาเป็นครู

ก็เพราะ"ป้า" เสียสละ ไม่เรียนต่อ

ช่วยตายายทำนา เพื่อให้แม่และน้าๆ คนอื่นๆ ได้เรียน

.

ถ้าเราได้ทำงาน ดี มีฐานะมั่นคง

อย่าลืมนะว่าป้า เคยเสียสละให้พวกแม่ได้มีวันนี้

มีขนม มีข้าวของ ติดไม้ติดมือ นำไปฝากท่าน

"จงระลึก ถึงความดี ที่ท่านเคยเสียสละให้พวกเรา"

นี่ละ ชีวิตหลังความตายของชาวนาที่ผมพยายามสื่อ

.

.

ผมพยายามเรียบเรียง 

เพื่อให้บทความนี้ออกมาสละสลวย

ลงตัว เพื่อสื่อถึง"รากเหง้า"ของพวกเรา

ว่าพวกเราเป็นใคร มาจากไหน และกำลังจะไปไหน

แต่ก็ทำได้ดีสุดของเขียน แค่นี้

.

.

วันนี้ ของที่ระลึกในงาน

ญาติๆ ทุกคน ลงความเห็นว่า

เราจะแจก"ข้าวหอมมะลิ"

.

ข้าวที่ ตายาย ป้า เคยทำนา

ส่งเสียให้คนรุ่นพ่อแม่ ได้เรียนสูง ๆ

จนส่งผ่านมาถึงคนรุ่นลูก ได้มีโอกาส จนมีวันนี้

.

.

นี่คืออีกเหตุผลนึง ของความไม่ยอมแพ้ของ

E-Rice Thai farmers.

หรือ โครงการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร

ที่เราจะไม่มีวันล้มเลิกหรือยุติโครงการ

ไม่ว่าจะต้องฝ่าฟัน ไปอีกกี่ปีก็ตาม

ตามรอยการต่อสู้ของบรรพบุรุษของเรา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้