Last updated: 29 ก.ย. 2566 | 1286 จำนวนผู้เข้าชม |
“ตากข้าวบนถนน
จำเป็น หรือ มักง่าย ตอนที่ ๒”
.
.
.
.
.
.
ผมตั้งใจเขียนทั้งหมด ๓ ตอน
แล้วจะสรุปอีกหนึ่งตอน
โดยยึดเอาจากประสบการณ์
ในการเป็นชาวนา ลูกชาวนา
ที่เห็นบริบทของชาวนาอิสาน
มาตั้งแต่จำความได้
.
.
คิดว่าเนื้อหาที่เขียนนี้
จะเป็นประโยชน์ หรือเป็นข้อมูล
สำหรับท่านที่สนใจ ติดตามชีวิตชาวนา
การจะด่ากัน จะดราม่า
จนทวงบุญคุณกันเลอะเทอะไปหมด
“ควรต้องรู้ที่มาที่ไป”
ทั้งด้านนิติศาสตร์ และ รัฐศาสตร์
.
ผมไม่อยากให้ใครด่าอาชีพของเรา
ในขณะเดียวกัน อยากให้”ชาวนา”
สร้างจิตสำนึก จรรยาบรรณ
ในอาชีพของพวกเรา ให้ทัดเทียม
กับชาวนาหรือเกษตรกรชาติที่เจริญแล้ว
.
.
.
.
การเกี่ยวข้าว เฟส๒(pharse)
ของชีวิตการเป็นชาวนาของผม
คือ ช่วงที่ได้เข้ามาเรียนหนังสือในเมืองแล้ว
เสาร์อาทิตย์ หยุดยาว ปิดเทอม
เราต้องกลับไปช่วยงานที่บ้าน
เพราะเวลา เข้าไปเรียนในเมือง
เราสีข้าวสารใส่กระสอบ ไปไว้หุงกินที่หอพัก
เพื่อลดรายจ่ายจากการซื้อข้าวกิน
.
ถ้าไม่ออกแรงเลย อยู่ๆมาสีข้าวไปกิน
จะมองหน้าพี่น้องคนอื่นอย่างไรเนอะ
แต่เชื่อไหมว่า มีคนประเภทนี้
อยู่ทุกที่ทุกสังคม
ไม่ทำนา แต่มาเอาข้าวไปกินเฉยๆนี่ละ
.
,
การเกี่ยวข้าวเฟสที่๒ นี้
แรงงานเกี่ยว ยังใช้คนเกี่ยวด้วยมือ
เจ้าภาพเลี้ยงอาหาร-จ่ายค่าแรงปกติ
ความรู้สึกเราคือ “แรงงานหายาก”
ต้องจ้างแพงกว่าปกติ เช่น แรงงานขั้นต่ำ
250-300 บาท/วัน แต่จ้างเกี่ยวข้าว
ค่าแรงตกไป 350-500 บาทต่อวัน
.
เพราะอะไร มีใครทราบไหมครับ?
.
.
.
คำตอบคือ ระยะเวลาที่ข้าวสุก
จะสุกพร้อมๆกันทั้งหมดทุกแปลง
เพราะเป็นข้าวชนิดไม่ไวแสง
คือมีกลางคืน ยาวกว่ากลางวัน
.
ภาษาบ้านๆคือ ข้าวสุกพร้อมเกี่ยว
ข้าวจะติดรวง มีเวลา ไม่เกิน 10-17 วันเท่านั้น
(หน้าหนาว กลางคืนยาวกว่ากลางวัน)
แล้วเม็ดข้าวจะร่วง ฝังตัวในดิน
รองอกเมื่อถึงหน้าฝน
เพราะข้าวเป็นพืชตระกูลหญ้า
.
ถ้าไม่เกี่ยวช่วงนี้ เม็ดข้าวร่วง
เจอน้ำหลาก ท่วม เสียหายกันหมด
ต่อให้จ้างแพงๆ ก็จำเป็นต้องจ้างกัน
.
ดังจะเห็นข่าว
นายหน้าไปขนแรงงานเขมร
เข้ามสรับจ้างเกี่ยวข้าว
เพราะค่าแรงถูกกว่าครึ่งนึง
.
.
เมื่อเกี่ยวเสร็จ
จะตากบนตอซังในนาเหมือนเดิม
2-3 แดด จนแห้งสนิทดี
จะมัดเป็นฟ่อน ขนเข้ามาเพื่อนวด
ตอนนี้ เครื่องจักรเริ่มเข้ามามีบทบาทแล้ว
เพราะ การนวดข้าวด้วยแรงงานคน
หาคนทำยาก ผลลัพธ์จากเครื่องนวด
ไม่ต่างจากคนแรงงานคน
แต่ประหยัดเวลามากกว่า
อาชีพใหม่ รับจ้างนวดข้าวด้วยเครื่อง
ก็เกิดตั้งแต่นั้น จนปัจจุบัน
ยังมีอยู่ในชนบททั่วไป
.
.
การลงแขกนวดข้าว
ก็ลงแขกญาตสนิมมิตรสหายเช่นเดิม
เพราะรถนวดข้าว มีหน้าที่นวดอย่างเดียว
ค่าจ้างแล้วแต่ตกลงกัน
บ้างก็่จ่ายเงินสด
บ้างก็จ่ายเป็นข้าวเปลือก
.
.
ภาพการนวดข้าวชุดนี้
ผมเก็บข้อมูลไว้ตั้งแต่ปี 2557
เพราะคิดว่าคือ”บริบท”ของชาวนารุ่นใหม่
ที่ต้องได้ใช้เป็นข้อมูลในอนาคตแน่ๆ
ซึ่งก็ได้ใช้ในการขับเคลื่อนโครงการมาตลอด
.
.
พอลงแขกนวดข้าวเสร็จ
ช่วงค่ำ ก็จะมีการ”เอาข้าวขึ้นเล้า(ยุ้ง)”
จบงาน เลี้ยงอาหาร สังสรรค์
เป็นการปิดฤดูกาลทำนา
.
แต่สิ่งที่รออยู่คือ “หนี้ธนาคาร”
ข้าวที่ขึ้นยุ้ง ถ้าเป็นข้าวเหนียว
สามารถขายได้เลย
.
ถ้าเป็นข้าวเจ้า ต้องรอข้าวเซ็ตตัว
2-3 เดือน กว่าจะนำมาหุงกินได้ปกติ
เพราะเมล็ดข้าวเปลือก(paddy)
ยังมีความชื้นสูง นำไปขายต้องเจอด่าน
การตรวจเปอร์เซ็นต์ความชื้นอีก
.
.
.
อ้าว ตอน๒ ก็ยังไม่มีการตากข้าวบนถนนเลย
แล้วพวกดราม่า ด่ากัน
เอาอะไรมาจากไหนเนี่ยยยยย
รออ่านตอน 3 ครับ
28 ม.ค. 2564
28 ธ.ค. 2566
30 ต.ค. 2567