เป็นชาวนา ปลูกข้าวแล้ว สีข้าวขายเอง ควรใช้โรงสีแบบไหนดี???

Last updated: 11 ธ.ค. 2567  |  16 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เป็นชาวนา ปลูกข้าวแล้ว สีข้าวขายเอง ควรใช้โรงสีแบบไหนดี???

ผมลืมไปว่าเราเคยมีการทำ Q&A
แล้วหยุดไปช่วงนึง(เพราะงานส่วนตัวยุ่งมาก ๆ)


.


Q : มีคำถามจากเพื่อนเกษตรกรที่ขายข้าวเอง
ถามเรื่องการเลือกโรงสีที่ทำให้ได้เม็ดข้าวสวย
มีึคุณภาพที่ดี เพื่อทำให้น่าซื้อ ว่าควรใช้โรงสี
ในระดับไหนดี??


A : จากการทำนาเอง สีข้าวขายเอง
ทำให้เห็นว่านี่เป็นปัญหาสำคัญอันหนึ่ง
ของการขายข้าวเองเลย ทำให้อยากแบ่งปัน
โดยแยกเป็นประเด็น ได้ดังนี้คือ


1.คุณภาพของเม็ดข้าว ซึ่งมาจากการทำนา
เกษตรกรแต่ละคน ทำนาด้วยวิธีิการรูปแบบ
ที่แตกต่างกันออกไป(Process,procedure)
ส่งผลกับ คุณภาพของเม็ดข้าวโดยตรง


จะเห็นผลลัพธ์เวลานำข้าว(เปลือก)ไปขาย
ทางโรงสีจะมีการตรวจเปอร์เซ็นต์ข้าวก่อน
แล้วค่อยคำนวณราคารับซื้อให้


เอาภาษาง่าย ๆ คือ ข้าวเปลือก 1000 กก
สีแล้ว จะได้ข้าวเม็ดเต็มเท่าไร(ข้าวต้น)
ข้าวหักเท่าไร(แยกหักเล็ก หักกลาง)
ปลายข้าวเท่าไร แกลบ รำ สิ่งเจือปนเท่าไร
จะเรียกว่า คิดกันทุกเม็ดเลยก็ว่าได้


โรงสีคิดแบบนี้ ไม่แปลกนะ
เพราะเขากู้เงินมาทำกิจการ
เราควรรู้ว่าเขาทำงานยังไงด้วย)


คราวนี้คุณภาพเม็ดข้าวของเรา
จากการทำนานั้น ยังดูปัจจัยอื่นได้อีก เช่น
-ฟ้าฝนปีนั้นเป็นอย่างไร
-ทำนาแบบไหน ใช้เคมี ไม่ใช่เคมี
(อันนี้ส่งผลต่อทั้งความหอม และความนุ่ม)
-การเก็บเกี่ยวทันกำหนดไหม
-การตากข้าว แห้ง หรือมีความชื้นหรือเปล่า
เป็นต้น


.


2.เรื่องของโรงสีข้าว
อันนี้ก็เป็นประเด็นสำคัญของชาวนา(อีก)
เพราะสีออกมาแล้ว ดีไม่ดี เม็ดเต็มไม่เต็ม
หักเยอะไหม คุณภาพได้หรือเปล่า
โอย จุกจิกมาก ๆ เด้อพี่น้อง


เราเริ่มจากโรงสีชุมชนระดับหมู่บ้าน
ในการสีข้าวเมื่อปี 2557 (ปีแรกที่ขายเอง)
ตรงนี้บอกเลยว่า วุ่นวายหลายมิติมาก ๆ เช่น
-สีออกมาแล้ว ข้าวหักเยอะ(มาก)
-รอคิวสี นานนนนน
เป็นต้น


เพราะโรงสีชุมชนส่วนใหญ่จะมีขีดจำกัด
คือ สีได้เพียงวันละ 500 - 1000 กก
นี่คือโรงสีระดับ 1-2 แสนบาทนะ
ที่สำคัญคือ
ไม่มีเครื่องคัดข้าว(ตะแกรงกลม)อีก
แยกได้เพียงปลายข้าว


ดังจะเห็นจากภาพใน(อัลบั้ม)เพจ
ที่เราลงไว้ว่า ช่วงแรก ๆ เราจ้างป้า ๆ น้า ๆ
มานั่งคัดร่อนข้าวด้วยมือ
หลังนำข้าวไปสีที่โรงสีหมู่บ้าน
โรงสีระดับดีขึ้นมา
ก็หลักหลายแสนขึ้นไปอีก
ในการสีข้าวเชิงพาณิชย์


ถ้าเป็นเครื่องกระเทาะเปลือกข้าว
สำหรับตรวจคุณภาพข้าว
เครื่องละ 1-2 หมื่น ที่ขายกันทั่วไป
ไม่กล้านับว่าเป็นเครื่องสีข้าวเด้อ
เพราะการขัดข้าว ทำให้หักเยอะมาก ๆ


.


3.เครื่องคัดข้าว หลังการสี
อันนี้ก็ถือว่าจำเป็นและสำคัญ
เพราะการขายข้าวเอง
หน้าตา รูปลักษณ์ ต้องดึงดูด


ปีแรก ๆ ที่พวกเราขายข้าว
เม็ดหักเยอะ บรรจุกระสอบบ้าน ๆ
เอาเชือกฟางมัดปาก ส่งให้ลูกค้า


แรก ๆ ลูกค้าก็โอเคแหละ
แต่พอหลัง ๆ เขาถามหามาตรฐาน
เพราะเขาซื้อข้าวจากห้างได้ง่าย และน่ากินกว่าเยอะ
เป็นเหตุผลที่พวกเราต้องพัฒนาตนเองมาตลอด


.


สรุป คำตอบของคำถาม


1.ถ้าเราสีข้าวขายเอง มีข้าวไม่เยอะ
สีด้วยโรงสีชุมชน อาจจะจองคิวสี
กับโรงสีวิสาหกิจชุมชนใกล้บ้าน
แล้วคัดด้วยเครื่องอีกรอบนึง ก่อนส่งให้ลูกค้า


2.ถ้ามีปริมาณข้าวเยอะ(ระดับร้อยตัน)
จ้างโรงสีเอกชนที่ทันสมัยเลย จบที่เดียว
แต่ก็ไม่แน่ว่า เขาจะรับสีให้อีกนั่นละ
"ต้องดูปริมาณข้าวของเรา
และตลาดที่รองรับด้วย"


.


ส่วนของโครงการอีไรซ์ฯ
เราให้ความรู้เกษตรกร ผ่านหน่วยงานรัฐ
ในการเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าว
สีด้วยโรงสีวิสาหกิจชุมชน
แล้วนำมาคัดด้วยเครื่องคัด(มือหมุน)
คุณภาพเม็ดข้าวที่ได้
ตามภาพที่ลงให้ดูเลย
ยังมีเม็ดหักอยู่บ้าง
แต่โดยรวม ไม่แย่

.
ผมตอบตรงคำถามไหมเนี่ยยยย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้