นโยบายเรื่องข้าวจากชาวนาของรัฐบาลเพื่อไทย

Last updated: 13 ธ.ค. 2567  |  17 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นโยบายเรื่องข้าวจากชาวนาของรัฐบาลเพื่อไทย

พยายามไม่พูดถึงเรื่องการเมืองมาหลายเดือน
ไม่ใช่กลัวว่าจะไปกระทบอะไร ยังไงต่อใคร
แบบที่ผ่าน ๆ มา เราใส่แหลกตั้งแต่วันแรกที่เปิดเพจ


.


เพราะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
การทำงาน บริหารงาน หรือใด ๆ
วัดกันที่ผลงาน ครบเทอม 4 ปี ก็เลือกกันใหม่
(พวกเราคิดกันแบบนี้)


ต่างจากสมัย คสช.ยึดอำนาจ
ต่อให้ทำดี ทำถูก(ใจ)แค่ไหน
มันก็มาจากการยึดอำนาจ
(นั่นคือเหตุผลที่เราบ่น ด่ามาตลอด)


.


ภาพจากข่าว หรือ ข่าวจากภาพ
น่าจะเป็นวันเดียวกันที่ชาวนา
ได้รับเงินช่วยเหลือ พัฒนาคุณภาพข้าว
ไร่ละ 1000 บาท กันแล้ว


ถือเป็นเรื่องดีที่มีการส่งเสริมชาวนา
ไม่ว่าจะเป็นทางตรง หรือทางอ้อม
แม้ว่าข้าวส่วนใหญ่ อยู่ในมือโรงสีไปแล้ว


เพราะค่าใช้จ่ายที่มาจ่อหน้าประตูบ้าน
ของชาวนา เกษตรกรไทย ไม่ว่าจะเป็น


-ค่ารถเกี่ยว(เพิ่งเกี่ยวข้าวเสร็จ)
-ค่ากินใช้ในครัวเรือน
-ค่าหนี้สินต่าง ๆ ที่มี
ฯลฯ


ผม และทีมงานก็มีหนี้สิน
ที่ต้องใช้จ่ายรายเดือนเหมือนทุก ๆ คนนั่นแหละ
แต่ที่พยายามเก็บสำรอง สีข้าวขายเอง
เพราะมีกำไรส่วนต่าง มากกว่าขายให้โรงสี
ในช่วงที่ผลผลิตออกพร้อมกันทั่วประเทศ


.


เห็นการแถลงของท่านนายกฯ
มีผู้สนับสนุนโครงการของเราส่งมาให้
ถือว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ สำหรับชาวนา
ที่ดิ้นรนต่อสู้ รวมกลุ่มกันจนส่งออกได้
(แต่ยังต้องผ่านเทรดเดอร์ ที่มีโควต้าส่งออก)


เป็นประเด็นที่ค่อนข้างล่อแหลม
เพราะท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์
เคยไปแตะอู่ข้าว อู่น้ำของระบบทุน
แบบนี้มาก่อน(แม้แตะเพียงเผิน ๆ)


เห็นผมเรียกนายกฯ ว่า "ท่าน"
คนที่ไม่ชอบ อย่าเพิ่งดิ้นนะ
เขามาจากการเลือกตั้งตามระบบรัฐสภา


แม้ว่ากติกามันจะบิดเบี้ยว ก็พอทำใจยอมรับได้
จนกว่าจะมีการแก้กติกาให้เป็นสากลโน่นแหละ


ทำดีมีผลงาน ครบวาระก็เลือกใหม่
ทำไม่ดี ไม่มีผลงาน ไม่ต้องรอครบวาระ
เดี๋ยวเครื่องด่าทำงานเอง


.


ประเด็นนี้ หลายท่านอาจจะไม่เข้าใจ
ว่า ถ้าชาวนาจะส่งข้าวไปต่างประเทศ
ต้องแก้กฎหมายกันเลยเหรอ??
หรือเป็นแค่คำพูดเรียกคะแนนนิยมหรือเปล่า??


การจะเป็นผู้ส่งข้าวไปต่างประเทศเองนั้น
มีขั้นตอนมากมายหลายอย่าง เช่น


ต้องเป็นนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียน 5 ล้าน
ต้องมีสถานประกอบการ มีโกดังเก็บข้าว
ต้องได้รับใบอนุญาตในการส่งออก(อันนี้ยากสุด)
เป็นต้น


ที่กล่าวมานั้น เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
อย่างน้อย 3 กระทรวงแล้ว ได้แก่
พาณิชย์-อุตสาหกรรม-เกษตร


นี่ไม่รวมกับเจ้าของ"โควต้า"เดิม
ในการส่งออกข้าวของไทย
ดังที่เคยได้ยินชื่อ 5 เสือค้าข้าว
คงคุ้นหูกันไม่มากก็น้อยเนอะ


.


อีไรซ์ฯ เกิดมา 10 ปีแล้ว
ได้สัมผัสกลุ่มเกษตรกรในอิสาน
ทราบว่า อยากน้อย มี 5 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ที่สามารถส่งข้าวไปต่างประเทศได้
แต่ยังต้องอาศัย"โควต้า"
ผ่านระบบเทรดเดอร์


.


เรื่องนี้ ถ้าสามารถทำได้
จะถือเป็นนโยบายที่ดีมาก
เป็นจุดเริ่มให้เกษตรกรรุ่นใหม่
ได้เห็นช่องทางในการ
เป็นชาวนาขายข้าวเอง


.


แต่จากสถานะรัฐบาลผสม
น่าจะทำไม่ได้ ในเร็ววันเป็นแน่
เพราะนโยบายอื่นที่ออกไว้
หลายอย่าง ยังไม่สามารถทำ
ขับเคลื่อนให้ตรงกับเป้าหมายได้ก็ยังมี


ส่วนใครห่วงว่านโยบาย
ดีไม่ดี ทำได้ หรือทำไม่ได้


ในกลไกระบบรัฐสภา
เรายังมีฝ่ายค้านเอาไว้ถ่วงดุล
ติดตาม ตรวจสอบการทำงาน
รอชมผลงานของทั้งสองฝ่ายกันต่อไป


.


อย่างไรก็ดี นโยบายแบบนี้
ทำให้ภาพในวันวานเมื่อปี 2557
ผุดขึ้นมาในหัวของพวกเราอีกครั้ง
ไม่ใช่เพราะกลัวเรื่องทหารแบบเดิม
เพราะบริบทของการทหารได้เปลี่ยนไปมาก


แต่ผมกลัวประเด็นที่ล่อแหลมเช่นนี้
จะไปกระตุกต่อมของนักการม็อบ
ที่หวังผลจากการชุมนุมแบบที่ผ่านมา
อย่างน้อยในรอบ 20 ปี ครึ่งชีวิตของเราเอง
ต้องมาเจอแต่เรื่องพวกนี้ วนไปมาซ้ำอีก


.


เอาใจช่วยให้"ท่าน"
สามารถทำตามนโยบายได้ครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้